12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 43

3. การลงทุน (Investment) – ความไม่แน่นอนสูงส่งผลให้การลงทุนของภาครัฐที่เป็นการลงทุนใหม่ต้องเลื่อนออกไป (Postpone) และลดทอนความเชื่อมั่น (Confidence) ของภาคธุรกิจ จนทำให้ภาคเอกชน (Private) บางส่วน ชะลอการลงทุนออกไป

4. การบริโภค (Consumption) – หลังจากผลของมาตรการส่งเสริม (Promotion) ธุรกิจต่างๆ หมดลง การบริโภคภาคเอกชนจะมีแนวโน้ม (Trend) ชะลอตัวลง (Slow down) ตาม ปัจจัยพื้นฐานด้านรายได้ โดยรายได้ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว (Tourism) จะได้รับผลกระทบ (Effect) รุนแรง (Severe)

5. อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) – แม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะปรับเพิ่มเล็กน้อย (Slightly) จากค่าแรงขั้นต่ำ (Minimum wage) ที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบ (Frame) เป้าหมายตามแรงดันอุปสงค์ (Demand) ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

6. นโยบายการเงิน (Monetary policy) – ภาครัฐผ่อนคลาย (Ease) นโยบายการเงินโดยการลดอัตราดอกเบี้ย (Interest) ถึง 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2562 เพื่อช่วยสนับสนุน (Uphold) การขยายตัวของเศรษฐกิจและ เอื้อ (Facilitate) ให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมาย แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ซึ่งเศรษฐกิจไทย ชะลอตัวจากภาคการส่งออก (Export) เป็นหลัก ส่งผลให้การจ้างงาน (Employment) ลดลงและอุปสงค์ ในประเทศลดลงอย่างชัดเจน (Obviously) 

ในปี พ.ศ. 2564 ในช่วงแรกมีการพยากรณ์ (Forecast) ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว (Recover) ได้ดีขึ้น แต่ก็เกิดการระบาดระลอก (Ripple) ใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 ในช่วงปลายไตรมาส (Quarter) 2 ของปี ทำให้ปัจจัยเสริม (Supplementary) และปัจจัยฉุดรั้ง (Hindrance) ในปี พ.ศ. 2563 ยังคงส่งผลกระทบ (Impact) ต่อมาจนถึงใน ปี พ.ศ. 2564

โดยพยากรณ์ (Forecast) ว่าจะมีแนวโน้มเศรษฐกิจขยายตัว (Expand) ที่ 2.3% ต่อปี ในช่วงต้นปี เหลือเพียง 1.3% ต่อปี ซึ่งเกิดจากการส่งออกสินค้าที่มีแนวโน้มปรับตัว (Adjust) ดีขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (Global trade) และภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง

ประกอบกับภาครัฐมีบทบาท (Role) สำคัญในการประคับประคอง (Sustain) เศรษฐกิจไทย ด้วยการประกาศนโยบายต่างๆ ผ่านการดำเนินมาตรการทางการคลัง (Fiscal) ของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการคนละครึ่งระยะที่ 3, โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้, โครงการเพิ่มกำลังซื้อ (Purchasing power) ให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (State welfare card)

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการ (Measure) ด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (Specialized financial institution: SFI) รวมกับการใช้จ่ายเงินกู้ (Loan) จากพระราชกำหนด (Royal decree) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา (Remedy) และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 เพิ่มเติมในวงเงิน 5 แสนล้านบาท

ทั้งหมดนี้ จะมีส่วนช่วยกระตุ้น (Stimulate) การบริโภค, บรรเทา (Relieve) ผลกระทบของภาคธุรกิจ, และรักษาระดับการจ้างงาน (Employment) ให้สูงขึ้น

แหล่งข้อมูล

  1. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:190623 [2024, October 30].
  2. https://globescan.com/ [2024, October 30].